GREEN DLE

ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม

  • ที่ตั้งส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม

ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมอยู่ ณ ส่วนอาคารสถานที่  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  

ตำแหน่งที่ตั้ง  https://goo.gl/maps/xtKeABcYwK7zBWkVA

พื้นที่สีเขียวรอบส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม

– ภาพ พื้นที่ภายนอกส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม

– ภาพ พื้นที่ภายในส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม

 บุคลากรส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม

ส่วนการเงินและบัญชีมีจำนวนบุคลากร 23 คน    แบ่งเป็น

–  รักษาการแทนหัวหน้าส่วน  1  คน

–  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป   3  คน

–  พนักงานธุรการ  3  คน
–  ลูกจ้างชั่วคราว  120 คน

มาตรการในการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน   การใช้ไฟฟ้า  ของส่วนการเงินและบัญชี

–  ปิดเครื่องปรับอากาศเวลา 12.00 น.และเวลา 16.00 น. 

–   ปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์เมื่อพักระหว่างการทำงานและปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์

–   รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยติดป้ายดึงสวิทไฟ

– ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟเบอร์ 5

มาตรการลดการใช้กระดาษดังนี้

-การคัดแยกกระดาษเพื่อนำไปรีไซเคิล

-การใช้กระดาษ 2 หน้า นำกระดาษที่ใช้แล้วหน้าเดียว กลับมาใช้ใหม่ 

-ใช้เอกสารอิเล็คทรอนิกส์ (e-document)

-ใช้การประชุมผ่านระบบ e-Meeting

–  คัดแยกขยะ

– ลดการใช้พลาสติกใส่อาหารโดยใช้ถุงผ้าและวัสดุอื่นแทน

ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและประหยัดที่สุด

ปีพ.ศ.น้ำประปา (ลบ.ม.)น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ (ลบ.ม.)
2560111,3860
2561121,3860
2562169,3810

บทความที่เกี่ยวข้อง

ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมจะใช้จักรยานในการติดต่อประสานงานระหว่างอาคาร  โดยมีจักรยานที่เป็นของส่วนอาคารและสถานที่

พนักงานส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมเข้าร่วม อบรม ปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์ พลังงาน 27 สิงหาคม 2562 ณ อาคารวิทยาศาสตร์กีฬา

พนักงานภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมเข้าร่วม อบรม ปลู้จิตสำนึกการอนุรักษ์ พลังงาน 27 สิงหาคม 2562 ณ อาคารวิทยาศาสตร์กีฬา

– Kick off “Walailak Go Green” เมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม 2562  เดินหน้าอย่างเป็นทางการกับพิธีเปิด  Kick off “Walailak Go Green” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวชั้นนำของประเทศ  

งานจัดการของเสีย ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม

สถานที่ตั้ง

งานจัดการของเสีย ตั้งอยู่ ณ อาคารบ่อบำบัด (เยื้องทางเข้าวัดแสงแรง) เลขที่ 222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160

ตำแหน่งที่ตั้ง https://www.google.com/maps/@8.6395891,99.8966018,16z

งานจัดการของเสีย กับสิ่งแวดล้อมสีเขียว
            ด้วยพื้นที่ ของโครงการฯ มีจำนวนกว่า 35 ไร่ เราให้ความสำคัญเกี่ยวกับบรรยากาศสิ่งแวดล้อม ความเขียวขจีของต้นไม้ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและร่มรื่นเหมาะสมกับการ
ทำงาน

จำนวนบุคลากรของ งานจัดการของเสีย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 

    มีจำนวนบุคลากร 35 คน ประกอบด้วย
    หัวหน้าโครงการฯ จำนวน 1 คน
    ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน จำนวน 8 คน
    ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน จำนวน 26 คน

1. มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพในการช่วยประหยัดพลังงาน (Energy efficient appliances usage)

    1.1 ปิดสวิตช์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง

    1.2 เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 ต้องเลือกใช้เบอร์ 5

    1.3 ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมง สำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5

    1.4 หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศบ่อยๆ เพื่อลดการเปลืองไฟในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

    1.5 ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10

2. การผลิตพลังงานหมุนเวียนภายในหน่วยงาน

    2.1 การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ช่วยเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า

    2.2 ผลิตขยะเชื้อเพลิง RDF เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าให้กับหน่วยงานและมหาวิทยาลัย

3. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งปี

4. การอนุรักษ์พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    มาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโครงการฯ ดังนี้

      4.1 ใช้พลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่สะอาดมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจก

       4.2 ปลูกต้นไม้เพิ่มในโครงการฯ เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนออกจากอากาศ และช่วยรักษาสภาพอากาศให้คงที่ ต้นไม้ช่วยลดโลกร้อนได้

1. การจัดการของเสียในสำนักงาน

ใช้ระบบบริหารจัดการสำนักงานดิจิทัล ( WU DOMS) ในการปฏิบัติงาน

ใช้การประชุมผ่านระบบ Zoom Join Meeting

การใช้กระดาษรีไซเคิล

นโยบายลดพลาสติก การใช้ปิ่นโตแทนถุงพลาสติก/กล่องโฟม การใช้ถุงผ้าใส่ของ การใช้แก้วน้ำเก็บความเย็น ลดการใช้แก้วพลาสติก

2. การจัดการของเสียในหน่วยงาน

    การจัดการขยะแต่ละประเภท

ขยะอินทรีย์

ขยะรีไซเคิ้ล

ขยะทั่วไป

ขยะติดเชื้อ

การจัดการน้ำ (Water)

การใช้น้ำจากการรีไซเคิลของ WMWU 

      น้ำบ่อสุดท้ายที่ได้จากการบำบัด นำไปเพาะเลี้ยงปลา และใช้รดน้ำต้นไม้ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ให้เกิดคุณค่า

การขนส่ง (Transportation)

ใช้รถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แทนรถยนต์และจักรยานยนต์ในการเดินทางติดต่อประสารงานทั้งภายในโครงการฯและภายนอกโครงการฯ

หัวหน้าโครงการฯใช้จักรยานในการติดตามและตรวจสอบงานในโครงการฯ

การศึกษาของหน่วยงาน (Education)
ข้อมูลตามเกณฑ์การประเมิน

1.รายวิชาทั้งหมดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
2.จำนวนทุนวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
3.จำนวนทุนวิจัยทั้งหมด
4.จำนวนผลงานตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
5.จำนวนงานแสดงทางวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
6.จำนวนชมรมหรือองค์กรนิสิตที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ข้อ งานจัดการของเสีย ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ไม่มีรายละเอียดที่ดูแลรับผิดชอบ

ติดต่อเราส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โทรศัพท์ 0-7567-3000 – 3896-7 (งานธุรการ) , 0-7567-3862 (รักษาการแทนหัวหน้างาน)โทรสาร 0-7567-3888Website : https://dle.wu.ac.th