ความเป็นมา_t

 

เมื่อปีพุทธศักราช 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรชีวิตของชาวเขาที่บ้านดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จึงทรงทราบว่าชาวเขาปลูกฝิ่นแต่ยากจนรับสั่งถามว่านอกจากฝิ่นขายแล้ว เขามีรายได้จากพืชชนิดอื่นอีกหรือเปล่า ทำให้ทรงทราบว่านอกจากฝิ่นแล้ว เขายังเก็บท้อพื้นเมืองขาย แม้ว่าลูกจะเล็กก็ตาม แต่ก็ยังได้เงินเท่า ๆ กันโดยที่ทรงทราบว่า สถานีทดลองดอยปุย ซึ่งเป็นสถานีทดลองไม้ผลเขตหนาวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำกิ่งพันธุ์ท้อลูกใหญ่มาต่อกับต้นตอท้อพื้นเมืองได้
ให้ค้นคว้าหาพันธุ์ท้อที่เหมาะสมสำหรับบ้านเรา เพื่อให้ได้ท้อผลใหญ่ หวานฉ่ำที่ทำรายได้สูงไม่แพ้ฝิ่น โดยพระราชทานเงินจำนวน 200,000 บาทให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำหรับจัดหาที่ดินสำหรับดำเนินงานวิจัยไม้ผลเขตหนาวเพิ่มเติมจากสถานีวิจัยดอยปุยซึ่งมีพื้นที่คับแคบ ซึ่งเรียกพื้นที่นี้ว่า สวนสองแสน ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512 เริ่มต้นโครงการหลวงเป็นโครงการส่วนพระองค์ โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มีชื่อเรียกในระยะแรกว่า“โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์รวมกับเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย สำหรับเป็นงบประมาณดำเนินงานต่าง ๆและพระราชทานมีเป้าหมายสำหรับการดำเนินงาน ดังนี้
1. ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม
2. ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้และต้นน้ำลำธาร
3. กำจัดการปลูกฝิ่น
4. รักษาดิน และใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง คือ ให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า และทำไร่ ทำสวน
ในส่วนที่ควรเพาะปลูก
อย่าสองส่วนนี้รุกล้ำซึ่งกันและกัน
การดำเนินงานต่าง ๆ ของโครงการหลวง
มีอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการด้านต่าง ๆ
ปฏิบัติงานถวาย
ทำให้การปฏิบัติงานก้าวหน้าอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยการปลูก
พืชเขตหนาวชนิดต่าง ๆ เกษตรกรสามารถนำไปปลูกทดแทนฝิ่นได้ผลดี
พ.ศ. 2537 โครงการควบคุมยาเสพติดของสหประชาชาติ (UNDCP) ได้ทูลเกล้าฯ
ถวายเหรียญทองเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณในการแก้ปัญหายาเสพติด
โดยส่งเสริมให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น แต่ปลูกพืชอื่นแทน
จึงกล่าวได้ว่าโครงการหลวงเป็นโครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่นแห่งแรกของโลก
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2517 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระราชทานพระราชดำรัสในโอกาสเสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมคณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขา ความว่า

การพัฒนาชาวเขานั้นในระยะแรกไม่มีเจ้าหน้าที่ไปอยู่ประจำในหมู่บ้านชาวเขา แต่มีคณะทำงาน
ซึ่งเป็นอาสาสมัครไปเยี่ยมเยียนชาวเขาในหมู่บ้านต่าง ๆ เป็นประจำทุกสัปดาห์
เพื่อให้คำแนะนำและสาธิตการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดต่าง ๆ เรียกว่าหมู่บ้านดังกล่าวว่าหมู่บ้านเยี่ยมเยียน
เมื่อเกษตรกรกลับไปยังหมู่บ้านของตน จึงเริ่มนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปปฏิบัติงาน
โครงการหลวงได้มอบให้คณะทำงานซึ่งเป็นอาสาสมัคร ประกอบด้วยคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัย
สถาบันการศึกษา และหน่วยราชการต่าง ๆ ได้ออกไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรในหมู่บ้านเป็นประจำทุกสัปดาห์
เพื่อให้คำแนะนำ และสาธิตการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับผิดชอบ ช่างเคี่ยน แม่สาใหม่ อ่างขาง แกน้อย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับผิดชอบ บ้านปางป่าคา ห้วยผักไผ่ ปู่หมื่นใน บ้านใหม่ร่มเย็น ถ้ำเวียงแก บ้านสวด

จอมหด
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแ
ม่โจ้ รับผิดชอบ บ้านวังดิน (ศูนย์ฯหมอกจ๋ามในปัจจุบัน) ผาหมี สะโงะ เมืองงาม
กรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบส่งเสริมกาแฟอราบิก้า (ร่วมกับกรมประชาสงเคราะห์ซึ่งมีศูนย์พัฒนา
และสงเคราะห์ชาวเขาบ้านแม่ลาน้อย ) ห้วยฮ่อม บ้านดง ป่าแป๋ รากไม้

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพันธุ์ไม้ผลเขตหนาว ได้แก่ แอบเปิ้ล ท้อ พลับ
และพืชไร่ที่เหมาะสมต่อการปลูกบนเขาสูงได้แก่ ถั่วแดงหลวง รวมทั้งสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ได้แก่ วัวพันธุ์บราห์มัน
ห่าน และแกะ เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้ชาวเขายืมพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์เหล่านี้ไปทดสอบเพาะปลูกและเลี้ยงดู
ถ้าได้ผลก็จะ