กิจกรรมหลัก

  1. 1. งานวิจัย

งานวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงดำเนินงานสืบเนื่องจากโครงการหลวงเดิม ในการค้นคว้าวิจัยเพื่อหาชนิดและพันธุ์พืชและสัตว์ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมบนพื้นที่สูง การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตโดยการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติรักษาที่เหมาะสม การป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่อาศัยการจัดการแบบผสมผสาน การใช้สารชีวภัณฑ์ต่าง ๆ  การจัดการหลังเก็บเกี่ยว และการแปรรูปผลผลิต และงานวิจัยทางสังคม ตลอดจนการวิจัยเพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง

สถานีวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวง ประกอบด้วย สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง, สถานีเกษตรหลวงปางดะ, สถานเกษตรหลวงอินนนท์ และสถานีวิจัยแม่หลอด

 

  1. 2. งานพัฒนา

มุ่งการส่งเสริมและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา และการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร ในพื้นที่โปรดเกล้าให้ดำเนินการพัฒนาศูนย์พัฒนาโครงการหลวง เพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน โดยมีพื้นที่ดำเนินงานเรียกว่า ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง จำนวน 35 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัด  มีประชากรกว่า 190,000 คน

 

  1. 3. งานตลาด

มุ่งสนับสนุนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูปผลผลิต การขนส่ง และการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร

(1) งานตลาดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

(2) ศุนย์ผลิตผลโครงการหลวงเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ณ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

(3) แผนกตลาดและคัดบรรจุ กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ ภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ

 

  1. 4. การเงินและบัญชี

รับผิดชอบการจัดสรรงบประมาณ ควบคุมดูแลการเงินทั้งรายรับราย-รายจ่ายของโครงการหลวง จัดทำรายงานทางการเงิน รวมทั้งการบริหารการลงทุนรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนการวางระบบการเงินและบัญชี

-งานงบประมาณ

-งานการเงิน

-งานบัญชี

 

 

  1. 5. งานอำนวยการ

ประกอบด้วย

ฝ่ายสำนักงาน

ทำหน้าที่ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครของโครงการหลวง โดยมีการแบ่งส่วนการรับผิดชอบดังนี้

– แผนกประชาสัมพันธ์

– ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศ

– แผนกบุคคล

– แผนกยานพาหนะ

– แผนกจัดซื้อ

– แผนกพัสดุ

– แผนกธุรการ

 

  1. 6. ฝ่ายตรวจสอบภายใน

ฝ่ายตรวจสอบภายใน เป็นหน่วยงานให้บริการด้านหลักประกันและให้คำปรึกษากับผู้บริหาร เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน และการใช้จ่ายเงิน อย่างเป็นประโยชน์และคุ้มค่า รวมถึงความถูกต้อง ครบถ้วนและเชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงิน ตลอดจน การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้มูลนิธิสามารถพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น