พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537
ในโอกาสที่ประธานมูลนิธิโครงการหลวงนำคณะบุคคลเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าถวายเงิน และน้อมเกล้าฯ
ถวายสิ่งของเพื่อสนับสนุนกิจการมูลนิธิโครงการหลวง ความว่า

“โครงการหลวง ได้เริ่มขึ้นเป็นกิจการเล็ก ๆ ซึ่งไม่เป็นโครงการ แต่เป็นการไปเที่ยวมากกว่า
คือไปเที่ยวตามหมู่บ้านต่าง ๆ ก็ได้เห็นว่าควรจะช่วยประชาชนในการอาชีพ

จึงได้นำสิ่งของไปให้เขาเพื่อที่จะพัฒนาการอาชีพของชาวบ้าน ต่อมาก็ได้เพิ่มขึ้น
มีผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานราชการได้เข้ามาช่วย
และมีคนส่วนหนึ่งช่วยเพื่อที่จะให้การส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น
ต่อมามีการร่วมมือของทางองค์กรต่างประเทศ ตลอดจนรัฐบาลต่างประเทศด้วย
จึงขึ้นมาเป็นโครงการที่เรียกว่า “โครงการหลวง” โครงการหลวงเริ่มต้นจากโครงการที่ประกอบด้วยผู้ที่เป็นอา
สาสมัครและเป็นข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ของไทย และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มาจากต่างประเทศ
ในที่สุดเป็นโครงการที่มามายใหญ่โตขยายออกไปจากการช่วยประชาชนในหมู่บ้าน ในวงจำกัด
จนกระทั่งเป็นการช่วยเหลือเท่ากับเป็นภาคทีเดียว จึงต้องมีการบริหารที่ดีขึ้น
และก็มีคนได้ช่วยบริจาคเงินและสิ่งของ เพื่อที่จะให้โครงการนี้ดำเนินไปตามจุดประสงค์ คือ
ความกินดีอยู่ดีของประชาชน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนแปลงเป็น “มูลนิธิโครงการหลวง”
เพื่อที่จะให้กิจการนี้ดำเนินต่อไปได้อย่างสม่ำเสมอ ในการที่ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการต่าง ๆ
อย่างดีโดยเอื้อเฟื้อบุคลากรและ งบประมาณที่จะช่วยให้ทำได้ตามจุดประสงค์…”
“ทางราชการมีส่วนหนึ่งทำให้การบริหารงานที่ทำยาก อยู่ที่ว่าแบ่งเป็นกระทรวง ทบวง กรม เหล่านั้น
อาจมีการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อน กันได้
และทางมูลนิธิโครงการหลวงก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ส่วนราชการต่าง ๆ
ได้เข้ามาร่วมมือกันอย่างกันเอง โดยที่ไม่ต้องกลัว จะถูกว่าว่าก้าวก่ายกัน”

นับเป็นก้าวใหม่ของโครงการหลวง ในการก้าวสู่การเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์อย่างแท้จริง
มีระบบงานที่ดี ทำให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการและเอกชน ก่อเกิดงานวิจัยและพัฒนาใหม่ ๆ
ในลักษณะโครงการนำร่อง เป็นผลให้เกิดการส่งเสริมอาชีพ
พัฒนาการตลาดผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพื้นที่ส่งเสริมของโครงการหลวง
เกิดการพัฒนาสังคมและชุมชนบนที่สูง ตลอดจนมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงความสมบูรณ์
อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของพื้นที่ต้นน้ำลำธารบนที่สูงในภาคเหนือของ ประเทศไทย